‘ส.ร่วมไทย’ พลิกโฉม ‘อาหารทะเลแห้งไทย’ อย่างไร? ให้โกอินเตอร์ระดับโลก

SME in Focus
17/03/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 5481 คน
‘ส.ร่วมไทย’ พลิกโฉม ‘อาหารทะเลแห้งไทย’ อย่างไร? ให้โกอินเตอร์ระดับโลก
banner
จากแนวคิดรุ่นพ่อสู่รุ่นลูกที่ต้องการต่อยอดธุรกิจครอบครัว (Family Business) ผู้ประกอบการ SME ซึ่งดำเนินกิจการจำหน่ายอาหารทะเลแห้ง สินค้าเกษตรแห้ง และผลไม้แห้งแปรรูปต่างๆ ที่เน้นคุณภาพ ก่อนเป็นเหตุผลให้คุณนฤพนธ์ ธนารักษ์สิริถาวร กรรมการบริหาร บริษัท ส.ร่วมไทย จำกัด ใช้การบริหารแบบ Quality Management ผนวกกับแนวคิดสร้างแบรนด์เปลี่ยนภาพลักษณ์ ‘อาหารทะเลแห้ง’ ให้สะอาด ทันสมัย มัดใจผู้บริโภคยุคใหม่ จนประสบความสำเร็จทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ


คุณนฤพนธ์ ธนารักษ์สิริถาวร กรรมการบริหาร บริษัท ส.ร่วมไทย จำกัด

จากร้านเล็กๆ ในเยาวราชสู่โรงงานแปรรูปอาหารทะเลแห้งแถวหน้าเมืองไทย

คุณนฤพนธ์ ธนารักษ์สิริถาวร กรรมการบริหาร บริษัท ส.ร่วมไทย จำกัด เล่าถึงที่มาของธุรกิจว่า แต่เดิมเราเป็นธุรกิจครอบครัว (Family Business) ที่เริ่มต้นธุรกิจจากร้านเล็กๆ ในเยาวราช ก่อตั้งเมื่อปี 2515 จำหน่ายอาหารทะเลแห้งแปรรูป เช่น กุ้งแห้ง ปลาทูเค็ม ปลาอินทรีเค็ม หมึกแห้ง เป็นผลิตภัณฑ์ที่เราทำมาตั้งแต่ดั้งเดิม ต่อมาเมื่อปี 2541 ได้มาเปิดบริษัทใหม่ที่มหาชัยในขณะนั้นเราทำธุรกิจแบบซื้อมาขายไป จนกระทั่งเมื่อปี 2545 เริ่มมีการส่งออกต่างประเทศ ได้แก่ ฮ่องกง และสิงคโปร์ 

หากย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ฮ่องกง สิงคโปร์ ถือเป็นฮับการค้าระหว่างประเทศของยุโรป สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย เพราะสมัยนั้นโลจิสติกส์ยังไม่พัฒนาเหมือนทุกวันนี้ และภาษีนำเข้าต่างๆ ก็ยังสูงมาก ทำให้เราต้องลงสินค้าที่ฮ่องกง สิงคโปร์ ซึ่งลักษณะการขายจะเป็นการประมูลสินค้า ซึ่งในขนาดนั้นมีลูกค้าชาวฮ่องกงได้ต่อยอดส่งสินค้าของ ส.ร่วมไทย ไปขายที่สหรัฐอเมริกา จนปี 2548 ได้มีโอกาสส่งสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกาด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องผ่านเทรดเดอร์จากฮ่องกง สิงคโปร์อีกแล้ว 

“จุดเปลี่ยนที่นำมาสู่การประสบความสำเร็จ เกิดจากการที่เราโพสต์สินค้าลงแพลตฟอร์มตลาดซื้อขายออนไลน์ชื่อดังอย่าง อาลีบาบา ขณะนั้นถือว่ายังใหม่มากใช้งานยากไม่เหมือนปัจจุบัน ซึ่งเขาก็ติดต่อเรากลับมา ต้องบอกว่าสมัยนั้นไม่มีสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) อย่าง Facebook, Line ที่สะดวกเหมือนเช่นทุกวันนี้ ต้องใช้วิธีติดต่อและส่งรูปทางอีเมลเป็นหลัก จากความพยายามดังกล่าวทำให้หลังจากนั้นได้เริ่มส่งออกไปสหรัฐฯ และแคนาดา ตามมาอีกหลายๆ ประเทศ โดยช่วงแรกสินค้าที่ส่งไปเป็นอาหารทะเลแปรรูปใช้เป็นวัตถุดิบไม่ใช่สินค้าพร้อมรับประทาน” 




สร้างแบรนด์คุณภาพเจาะตลาด เข้าถึงผู้บริโภคง่ายขึ้น

คุณนฤพนธ์ เล่าว่า เมื่อปี 2553 บริษัทประสบปัญหาสภาพคล่อง จากการที่ลูกหนี้ค้างชำระถึง 20 ล้านบาท เมื่อเจอปัญหาดังกล่าวจึงมองว่า ‘ส.ร่วมไทย’ จะป้อนวัตถุดิบให้กับซัพพลายเออร์อย่างเดียวไม่ได้แล้วต้องกระจายความเสี่ยง จึงเริ่มศึกษาและมุ่งมั่นในการสร้างแบรนด์ด้วยตัวเองอย่างจริงจัง

โดยเริ่มจากนำผลไม้อบแห้งจากที่นำเข้ามาคัดเกรดแปรรูปแล้วนำมาอบและคัดคุณภาพแพ็กสินค้าส่งในโมเดิร์นเทรดต่างๆ ได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี จากนั้นปรับรูปแบบให้ผู้บริโภคเข้าถึงง่ายขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคไม่ต้องซื้อเกินความจำเป็น โดยการทำเป็นซองขนาดเล็ก 20 บาท ไปวางในร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) และ 7-Eleven, Family Mart, Lawson เหล่านี้เป็นต้น จากการที่ลดขนาดสินค้ามาเป็นขนาดที่จับต้องง่ายสบายกระเป๋า ทำให้ยอดขายเราสูงขึ้นอย่างมาก ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าได้เป็นอย่างดี




‘อาร์แอนด์ดี’ Key Success ของธุรกิจ 

คุณนฤพนธ์ ฉายมุมมองว่า หลังจากที่สร้างแบรนด์จนเป็นที่รู้จักในตลาดแล้ว จึงมีความคิดที่จะจัดตั้งแผนกวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือ อาร์แอนด์ดี (Research and Development: R&D) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของผู้ประกอบการ SME ให้ประสบความสำเร็จ ต้องยอมรับว่า SME โดยทั่วไปมักจะไม่เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ อาจจะด้วยเหตุที่ต้องใช้เงินทุนค่อนข้างสูงในการจะพัฒนาสินค้าขึ้นมาต้องมีการวางแผนการใช้งบในการพัฒนาสินค้า 

ซึ่งหัวใจในการทำอาร์แอนด์ดี ตัวผู้บริหารต้อง Support คือหนึ่งต้องให้นโยบายที่ชัดเจนถูกต้องและต้องมีการสื่อสารภายในองค์กร เช่น แผนกขายต่างประเทศต้องสื่อสารว่า บริษัทมีสินค้าอะไร ลูกค้าต้องการอะไร ต้องประชุมกับฝ่ายอาร์แอนด์ดี ว่าปัญหาของลูกค้าอยู่ตรงไหน เราจะพัฒนาปรับปรุงและแก้ไขอย่างไรให้ตรงใจที่ลูกค้าต้องการ ที่สำคัญต้องกล้าลงทุนนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาพัฒนาสินค้า จนปัจจุบันนี้บริษัทสามารถส่งออกอาหารทะเลแปรรูปไปหลายๆ ประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา, แคนาดา, เกาหลี,จีน, สิงคโปร์ และประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ไปจนถึงตะวันออกกลาง




วางกลุ่มลูกค้าแต่ละแบรนด์ให้ชัดเจน เพื่อตอบโจทย์ให้ตรงใจ

คุณนฤพนธ์  อธิบายถึงโพสิชั่นนิ่งของสินค้าแต่ละแบรนด์ว่า ต้องมีการวาง Positioning ของแต่ละแบรนด์ให้ชัดเจน อย่างเช่น ฟรุ๊ตมาเนีย (Fruitmania) เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ส่วน โกหมึก (GOMUC) จะเป็นอาหารว่างรับประทานเล่น ขณะที่ ธนา (TANA) จะเน้นเรื่องอาหารทะเลแปรรูป และ สามบัว (SAMBUA) จะเป็นกลุ่มอาหารธัญพืชและสินค้าเกษตรแปรรูป 

สำหรับหลักการที่ ส.ร่วมไทย ยึดมั่นในการทำธุรกิจมาตลอด คือสินค้าต้องสะอาด ถูกสุขอนามัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในการนำไปจำหน่ายต่อ ต้องดีกว่าสะอาดกว่าสินค้าที่จำหน่ายอยู่ตามตลาดทั่วไป โดยเน้นวัตถุดิบคุณภาพและควบคุมกระบวนการผลิตด้วยมาตรฐานสากล GMP, HACCP, FSSC22000 และ HALAL ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าได้ทั้งในและต่างประเทศ

ผลิตภัณฑ์ ส.ร่วมไทย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ อาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุง (Ready to Cook) และอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน (Ready to Eat) โดยเป้าหมายของบริษัทคือ ความมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพและเสิร์ฟอาหารที่ดีต่อผู้บริโภคทุกวัน




ปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อความเติบโตของธุรกิจที่ยั่งยืน

คุณนฤพนธ์ ขยายความเรื่องนี้ว่า เมื่อก่อนทำธุรกิจแบบทำทุกอย่างเองหมด เมื่อถึงจุดหนึ่งที่ต้องการเติบโตมากขึ้น จึงต้องมีการปรับบริหารงานให้มีคุณภาพ (Quality Management) มากขึ้น รวมถึงการวางโครงสร้างองค์กรใหม่ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งการวางโครงสร้างที่ดีต้องประกอบไปด้วยบุคลากรที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับงาน (Put the right man on the right job) 

และที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ระบบและแผนงานที่ดี ซึ่งการที่จะเติบโตได้อย่างยั่งยืนต้องมีระบบที่สามารถควบคุมและตรวจสอบได้ทั้งระบบ ทำให้บุคลากรเข้าใจ Process ของงานไปในทิศทางเดียวกันช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการมีระบบที่ดีจะช่วยรองรับการทำงานในอนาคต ซึ่งเราจะเห็นความผิดพลาด และสามารถนำมาปรับแก้ไขได้ง่าย - รวดเร็วขึ้น ถือเป็นแนวคิดที่สำคัญของผู้บริหารในการพัฒนาองค์กร




มองภาพธุรกิจในการขยายธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศ

คุณนฤพนธ์ สะท้อนมุมมองว่า บริษัทมีเป้าหมายที่จะขยายธุรกิจไปที่เวียดนาม เนื่องจากตลาดเวียดนามยังเป็นตลาดที่มีศักยภาพของไทย เพราะ Mindset ของคนเวียดนามยังเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าของไทย แต่แนวโน้มในอนาคตเวียดนามเองก็มีความมุ่งมั่นที่จะผลิตสินค้าเพื่อมาแข่งขันในเรื่องคุณภาพกับสินค้าไทยเช่นเดียวกัน โดยเริ่มมีให้เห็นมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

“ฝากถึงผู้ประกอบการ SME ที่ต้องการประสบความสำเร็จ ควรพัฒนาคุณภาพสินค้าขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า เพราะคุณภาพที่ดีจะทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนและแข่งขันในตลาดการค้าสากลได้” คุณนฤพนธ์ กล่าวในท้ายสุด 


รู้จัก ‘บริษัท ส.ร่วมไทย จำกัด’ เพิ่มเติมได้ที่


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

ภาพรวมตลาดสินค้า อะไหล่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและโซล่าร์เซลล์มีแนวโน้มเติบโตสูง คาดการณ์ว่าจะเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปี จากปี 2566…
pin
38 | 29/04/2024
‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
375 | 25/04/2024
Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
379 | 22/04/2024
‘ส.ร่วมไทย’ พลิกโฉม ‘อาหารทะเลแห้งไทย’ อย่างไร? ให้โกอินเตอร์ระดับโลก