รู้จัก 3 กลยุทธ์ Marketing ตอบโจทย์ผู้บริโภครักษ์โลกแนวโน้มโตไม่หยุด ผู้ประกอบการ SME ไทย ปรับใช้ไม่ตกเทรนด์

SME Update
30/05/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 4952 คน
รู้จัก 3 กลยุทธ์ Marketing ตอบโจทย์ผู้บริโภครักษ์โลกแนวโน้มโตไม่หยุด ผู้ประกอบการ SME ไทย ปรับใช้ไม่ตกเทรนด์
banner
‘โลกร้อน’ คือประเด็นเร่งด่วนที่ทั่วโลกกำลังให้สำคัญในการแก้ไขปัญหา เพื่อควบคุมและสกัดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศไม่ให้ส่งผล นำมาสู่โจทย์สำหรับภาคธุรกิจต้อง ‘ผลิตสินค้ายั่งยืน’ สู่กลยุทธ์ใหม่ Marketing ที่แต่ละแบรนด์ต้องหาวิธีมาตอบโจทย์ดังกล่าว

โดยผู้ประกอบการรวมถึง SME ต่างต้องรังสรรค์ไอเดียสินค้ายั่งยืน (Sustainability) เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบต่อชุมชน สังคม ดังนั้น Bangkok Bank SME จึงขอพาไปรู้จักกลยุทธ์รักษ์โลกซึ่งจะมีวิธีไหนน่าสนใจตามไปดูกันเลย

 

1. กลยุทธ์ SEC เจาะใจกลุ่มเป้าหมาย

กลยุทธ์ Marketing ตอบโจทย์ผู้บริโภครักษ์โลก SEC = S : Sustainability, E : Easy Choice, C : Carbon Footprint โดยกลยุทธ์นี้ คุณชีวานนท์ ปิยะพิทักษ์สกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ประเทศไทยและมาเลเซีย, Kantar, Worldpanel Division ได้แนะนำแต่ละแบรนด์เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภครักษ์โลกที่เติบโตขึ้นในตลาด

โดยหยิบรายงาน Who Cares, Who Does 2021 รายงานระดับโลกฉบับที่ 3 ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง Kantar, Europanel และ GfK สำรวจผู้บริโภค 88,000 คนใน 26 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย เพื่อเจาะหา Insight ผู้บริโภคด้านความยั่งยืน เชื่อมโยงไปยังพฤติกรรมการซื้อสินค้า FMCG (Fast Moving Consumer Goods) จริง

โดยภายในปี 2572 คาดว่าประชากรโลกเกิน 50% จะเปลี่ยนไปเป็นผู้ตระหนักและใช้สินค้ารักษ์โลก จากปัจจุบันมีสัดส่วน 22% ซึ่งครอบครองมูลค่าตลาดราว 446 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในอุตสาหกรรม FMCG ซึ่งเพิ่มขึ้น 70 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปี 2020



กลยุทธ์ SEC เพื่อผู้ประกอบการ และ SME ตอบโจทย์ผู้บริโภครักษ์โลก

S : Sustainability
ผู้บริโภค 2 ใน 3 เปลี่ยนจากซื้อสินค้าปกติไปเป็นสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ส่งเสริมความยั่งยืน แต่บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนไม่ใช่ปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้บริโภคตลอดเวลา แบรนด์ต้องนำความยั่งยืนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Brand Superiority แต่ไม่ใช่ข้อความทั้งหมดยกเว้นว่าเป็นแบรนด์ Born-Sustainable แบรนด์ยังต้องเน้นถึง Positioning เดิม เพียงสอดแทรกในเรื่องความยั่งยืนเข้าไปให้ผู้บริโภครับรู้

E : Easy Choice
การเปลี่ยนแปลง Packaging ที่จะออกสู่ตลาดทำให้มีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบทางด้านราคาไปยังผู้บริโภค แม้ผู้ซื้อบางรายยินดีจ่ายเพิ่มแต่ไม่ใช่ทั้งหมด โดยมีแนวโน้มที่จะซื้อแบรนด์ที่ยั่งยืนมากกว่าซึ่งมักจะมีราคาแพงกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ไม่เต็มใจ ผู้ผลิต ค้าปลีก แบรนด์ และแม้กระทั่งภาครัฐ จำเป็นต้องร่วมมือกัน เพื่อลดอุปสรรคด้านต้นทุนและความกังวลว่าผลิตภัณฑ์จะด้อยคุณภาพ ต้องทำการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนในบรรจุภัณฑ์ออกสู่ตลาดให้มองเห็นได้มากที่สุดและหาซื้อง่าย Easy choice, Easy to buy

C : Carbon Footprint
แม้ว่า Climate Change จะเป็นปัญหาอันดับต้นๆ ของโลก Plastic Waste เองก็เป็นจุดสนใจในการจับจ่าย แต่ความยั่งยืนเป็นมากกว่าเรื่องของ Packaging ผู้ผลิตจะต้องคำนึงทั้งกระบวนการผลิตและมีหน้าที่ให้ความรู้ผู้บริโภคเกี่ยวกับประโยชน์ของการลด Carbon Footprint

2. Green Marketing

Green Marketing หรือพูดง่ายๆ ก็คือเป็นการทำ Marketing เพื่อสิ่งแวดล้อมโดยมีแนวทางปฏิบัติที่เน้นถึงประโยชน์ในด้านสิ่งแวดล้อมของตัวผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการ ซึ่งความแตกต่างที่สำคัญจากการทำการตลาดแบบเดิมๆ คือไม่ได้มุ่งเน้นแค่การสร้างรายได้และผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่แบรนด์ต่างๆ จะต้องก้าวข้ามไปสู่คอนเซปต์ ‘การฟื้นฟูโลก’ ด้วย



การตลาดสีเขียวกับส่วนผสมด้าน Marketing

แนวคิดกรีนมาร์เก็ตติ้งสามารถนำส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) คือ ผลิตภัณฑ์ Product) ราคา (Price) การจัดจำหน่าย (Place) และการส่งเสริมการตลาด (Promotion) มาใช้เป็นเทคนิค Marketing ได้

ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ต้องเริ่มตั้งแต่การผลิตสินค้า คือ การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หรือการลงทุนเพิ่มเพื่อปรับให้กระบวนการผลิตสินค้าในทุกขั้นตอนทุกกระบวนการ ที่จะไม่สร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม หรือติดตั้งอุปกรณ์ในการป้องกันและขจัดของเสียที่เกิดจากการผลิต เช่น การติดตั้งและใช้งานเครื่องกรองอากาศขนาดใหญ่ เครื่องบำบัดน้ำเสีย ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ธุรกิจลดต้นทุนแล้ว ยังจะลดของเสีย เกิดประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า

การผลิตสินค้าต้องเป็น ‘สินค้าสีเขียว’ หมายถึง สินค้าที่ผลิตออกมานั้นสามารถย่อยสลายง่ายและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การใช้ หลังใช้ หรือทิ้ง เช่น ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ ผลิตภัณฑ์ซักล้างที่ไม่ก่อมลพิษ เสื้อผ้าไม่ฟอกย้อม น้ำมันไร้สารตะกั่ว ตู้เย็น - เครื่องปรับอากาศประหยัดไฟฟ้า

ด้านราคา (Price) การตั้งราคาขึ้นอยู่กับว่ามูลค่าของสินค้าหรือบริการ ถ้ามีอรรถประโยชน์สูงจนทำให้สินค้ามีคุณค่าในสายตาของลูกค้าและต้องสูงเกินกว่าต้นทุนของผู้ซื้อ อย่างไรก็ดี Marketing ต้องเข้าใจต้นทุนการผลิตกับต้นทุนสิ่งแวดล้อม หากมีการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพก็จะก่อให้เกิดของเสียและมลพิษ ซึ่งจะกลายเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตที่เกิดจากการใช้วัตถุดิบ อันจะทำให้สินค้ามีราคาแพงจนไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้        

การจัดจำหน่าย (Place) ต้องคำนึงถึงวิธีการเลือกการกระจายสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคที่จะส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด 

การส่งเสริมการตลาด (Promotion) ที่ประกอบไปด้วยการโฆษณา (Advertising) การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) การขายโดยใช้พนักงานขาย (Personal Selling) และการตลาดทางตรง (Direct Marketing) โดยใช้ทุกวิธีร่วมกันในการที่จะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปยังผู้บริโภค และผู้ประกอบการด้วยกันให้เกิดความใส่ใจอย่างจริงจัง กับสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจ ความรู้สึกและพฤติกรรมต่อสิ่งแวดล้อม



3. กลยุทธ์ชูแนวคิด ESG จากการดำเนินธุรกิจมาเป็น Marketing ด้วย

ด้วยความที่ในปัจจุบันโลกกำลังเผชิญปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาโลกร้อน ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม และอื่นๆ นำมาสู่แนวคิดการดำเนินธุรกิจแบบ ESG (Environmental, Social and Governance) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่กำลังได้รับความสนใจจากองค์กรมากมาย โดยเริ่มมีการวางแผนทิศทางและเป้าหมายในระยะยาว เพื่อสร้างการเติบโตที่สมดุลในทุกมิติ ดังนั้นเมื่อแต่ละองค์กรมีการขับเคลื่อนกิจการด้วยแนวคิด ESG แล้ว ก็ควรนำมาทำการกลยุทธ์ Marketing เพื่อคว้าใจลูกค้ารักษ์โลกด้วยเช่นกัน

แนวคิด ESG คืออะไร

ESG คือการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน หมายถึง การที่บริษัทประกอบธุรกิจโดยคำนึงถึงการเติบโตของผลกำไร ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่..

1. E : Environment (การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม) คือการเน้นใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท

2. S : Social (การจัดการด้านสังคม) คือการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ดูแลความปลอดภัยของพนักงาน รวมถึงมีสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนรอบด้าน

3. G : Governance (การจัดการด้านธรรมาภิบาล) คือการมีนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดี ต่อต้านการทุจริต ดำเนินงานอย่างโปร่งใส และดูแลผลประโยชน์ผู้มีส่วนได้เสีย

ท่ามกลางความผันผวนจากสถานการณ์และความท้าทายต่างๆ ทำให้ภาคธุรกิจต่างต้องปรับตัวโดยดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิด ESG ซึ่งในการดำเนินงานที่จะเป็นหนทางสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง ต้องมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม

ซึ่งพิสูจน์ได้จากผลประกอบการของบริษัทและความสามารถในการหยิบยื่นสิ่งดีๆ สู่สังคม จากนั้นก็นำการประสบความสำเร็จที่ได้เกิดขึ้น มาทำ Marketing ประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคได้ทราบ ซึ่งจะช่วยสร้างภาพลักษณ์ทำให้ผู้คนสนใจในสินค้าหรือบริการเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

แหล่งอ้างอิง : 

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

5 รูปแบบการ Digital Transformation กลยุทธ์เร่งด่วนที่ SME ต้องทำก่อนปี 2568

5 รูปแบบการ Digital Transformation กลยุทธ์เร่งด่วนที่ SME ต้องทำก่อนปี 2568

การเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับปรุงกระบวนการ หรือประยุกต์ใช้งานเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ ในแง่มุมของการประกอบธุรกิจเรียกว่า…
pin
3 | 28/09/2024
เจาะลึก ธุรกิจที่ใช้ AI ทำอย่างไร ถึงประสบความสำเร็จ และสิ่งที่ธุรกิจต้องเตรียมพร้อมในครึ่งปีหลัง 2567

เจาะลึก ธุรกิจที่ใช้ AI ทำอย่างไร ถึงประสบความสำเร็จ และสิ่งที่ธุรกิจต้องเตรียมพร้อมในครึ่งปีหลัง 2567

ไม่กี่ปีที่ผ่านมา AI Chatbot เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีมาแรง ที่องค์กรธุรกิจต่าง ๆ หันมาให้ความสำคัญอย่างมาก โดย AI Chatbot กลายมาเป็นเครื่องมือหลักที่ภาคธุรกิจนำมาใช้ในการสื่อสาร…
pin
3 | 26/09/2024
‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
2253 | 13/02/2024
รู้จัก 3 กลยุทธ์ Marketing ตอบโจทย์ผู้บริโภครักษ์โลกแนวโน้มโตไม่หยุด ผู้ประกอบการ SME ไทย ปรับใช้ไม่ตกเทรนด์