จากคนสู่ระบบอัตโนมัติ 'เอ็นแอนด์เอส ออโตเมชั่น' ทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการ SME ยุค Disruption

SME in Focus
14/10/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 2025 คน
จากคนสู่ระบบอัตโนมัติ 'เอ็นแอนด์เอส ออโตเมชั่น' ทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการ SME ยุค Disruption
banner
เปิดวิสัยทัศน์ ‘บริษัท เอ็นแอนด์เอส ออโตเมชั่นแอนด์เซอร์วิส จำกัด’ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพิ่มประสิทธิภาพงานอุตสาหกรรมการผลิตมายาวนานกว่า 15 ปี ด้วยงาน Automation System Integration และให้คำปรึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม พร้อมทั้งให้บริการแก่บริษัทผู้ผลิตสินค้าชั้นนำของเมืองไทย 



คุณสมโพช เจริญสุข กรรมการบริหาร บริษัท เอ็นแอนด์เอส ออโตเมชั่นแอนด์เซอร์วิส จำกัด เล่าถึงที่มาของธุรกิจว่า เริ่มต้นจากตนเคยทำงานที่บริษัทด้านออโตเมชั่น ชื่อดังแห่งหนึ่งเป็นระยะเวลา 8 ปี ขณะที่เทรนด์ตอนนั้นผู้ประกอบการเริ่มหันมาใช้ระบบออโตเมชั่นมากขึ้น จึงตัดสินใจลาออกจากพนักงาน มาก่อตั้งบริษัท ‘เอ็นแอนด์เอส ออโตเมชั่นแอนด์เซอร์วิส’ เพื่อดำเนินธุรกิจออกแบบระบบ ออโตเมชั่น ซึ่งขณะนั้นโรงงานในบ้านเรายังใช้ระบบออโตเมชั่นกันไม่แพร่หลายมากนัก 



‘เอ็นแอนด์เอส ออโตเมชั่นแอนด์เซอร์วิส’ ทำอะไร?

คุณสมโพช เล่าต่อว่า บริษัทดำเนินธุรกิจด้านออโตเมชั่น มาตั้งแต่ปี 50 โดยเริ่มต้นจากงานด้านระบบซอฟต์แวร์เป็นหลัก ต่อมาได้พัฒนาระบบซอฟต์แวร์ให้ทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ที่ออกแบบและผลิตเอง เพื่อให้เครื่องจักรที่ผลิตสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โดยจับตลาดที่เป็นลูกค้ากลุ่มโรงงานผู้ผลิตอาหารและผู้ประกอบการคนไทยที่ต้องการยกระดับการผลิตให้มีความเที่ยงตรงสูง มีความรวดเร็วในการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยกลุ่มลูกค้าของบริษัทส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverages) ที่ให้บริการในรูปแบบ Made to Order อย่างเช่น โรงงานน้ำอัดลมชื่อดัง, โรงงานแป้งมัน, โรงงานผลิตอาหารป้อนแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่ของเมืองไทย เป็นต้น

“ผลิตภัณฑ์ของเราเน้นการขาย Solution คือการแก้ปัญหาให้ลูกค้า โดยเรารับฟังลูกค้าว่าโจทย์ของเขาคืออะไร แล้วนำมารวบรวมเป็นไอเดียออกแบบเป็นระบบ Automation ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าให้ตรงกับปัญหาและความต้องการของลูกค้าอย่างตรงจุด ยกตัวอย่าง บริษัทชื่อดังที่ผลิต ‘ไก่จ๊อ’ ซึ่งจากเดิมที่ใช้แรงงานคน 10 - 20 คนหั่นด้วยมือ ปัจจุบันเราเข้าไปปรับเปลี่ยนมาใช้ระบบ Automation ทำให้ลดการใช้แรงงานคนและทำงานเร็วขึ้นถึง 10 เท่า”

นอกจากนี้บริษัทที่มีระบบเดิมอยู่แล้ว แต่ต้องการพัฒนาให้มีความทันสมัย ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นก็สามารถทำได้ โดยทีมงานจะเข้าไปดูระบบในเบื้องต้นเพื่อนำมาวิเคราะห์และออกแบบเครื่องจักรให้เหมาะสมกับธุรกิจของลูกค้า โดยการ Integrate เข้าด้วยกัน เพราะโดยหลักการแล้วเครื่องจักรเหล่านี้จะเปิดช่องให้เราสามารถพัฒนาระบบได้



อุปสรรคของการพัฒนา ‘ระบบ ออโตเมชั่น’ ในเมืองไทย

คุณสมโพช เผยมุมมองเรื่องนี้ว่า อุตสาหกรรม 4.0 ประเทศไทย บริษัทใหญ่ ๆ ประมาณ 80% นั้นพัฒนาไปมากแล้ว ยกเว้น SME ยังไม่ปรับเปลี่ยนมากนัก เนื่องจากมองว่าการลงทุนด้านนี้ทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง ขณะระบบการผลิตแบบเดิมที่ทำอยู่ก็สามารถขายได้ดีอยู่แล้ว

“ผู้ประกอบการและ SME ส่วนใหญ่มองว่า ระบบออโตเมชั่นเป็นการลงทุนที่สูงมากไม่คุ้มค่าที่จะลงทุน ซึ่งในอดีตยอมรับว่าระบบดังกล่าวมีการลงทุนที่สูงจริง แต่ปัจจุบันราคาปรับตัวลงมามากพอสมควรแต่หลายคนก็ยังมองว่าราคายังสูงอยู่ดีสำหรับธุรกิจ SME

แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากมองถึงการลงทุนในระยะยาวถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก เพราะในการลงทุนครั้งหนึ่งนั้นระบบสามารถทำงานได้ 10 - 20 ปี ทำให้สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพสูงมากกว่าใช้แรงงานคนผลิตในลักษณะงานที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีความเสถียรและแม่นยำมาก สามารถคำนวณยอดการผลิตต่อวันได้และที่สำคัญที่สุดในการบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย สิ่งนี้ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารในการมองเรื่องความคุ้มค่าในระยะยาวนั่นเอง”



ผู้ประกอบการและ SME ที่ต้องการยกระดับสู่ ระบบออโตเมชั่น

คุณสมโพช ให้ข้อแนะนำว่า หากผู้ประกอบการและ SME สนใจที่จะลงทุนในเรื่องออโตเมชั่นจริง ๆ นั้น ต้องรู้ความต้องการของตนเองก่อน ว่าจะนำระบบออโตเมชั่นมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อะไร แล้วเริ่มพัฒนาในส่วนของกระบวนการผลิตที่ควบคุมยาก หรือที่มีความผิดพลาดบ่อย ๆ ควรนำเอาระบบออโตเมชั่นมาช่วยเรื่องความแม่นยำ รวมถึงปัญหาแรงงานหรือบุคลากรในส่วนที่หายากก็สามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ส่วนตรงไหนที่ไม่มีความซับซ้อนมากนักก็ใช้ระบบเดิมไปก่อน อย่างนี้เป็นต้น

“ผู้ประกอบการและ SME ต้องมองว่าส่วนใดเป็นส่วนสำคัญในการผลิต ถ้ายังทำไม่ได้ทั้งระบบก็ปรับเปลี่ยนเฉพาะในส่วนที่มีความสำคัญในการผลิตก่อน เช่น ต้องการลดของเสียหรือต้องการเพิ่มจำนวนผลผลิตหรือต้องการเน้นคุณภาพ อย่างนี้เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ผู้ประกอบการต้องมาพูดคุยกันถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการในการใช้ระบบของเราเข้าไปช่วยในธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น”

ที่สำคัญในกระบวนการผลิตอีกประการหนึ่ง คือเรื่องของสูตรการผลิตที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เนื่องจากในสับเปลี่ยนการทำงานแต่ละกะ มีการปรับใช้สูตรที่ไม่เหมือนกันเนื่องจากเป็นระบบ Manual จึงไม่มีความถูกต้องแม่นยำทุกครั้งในการผลิตและที่สำคัญช่วยลดของเสียในการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งระบบออโตเมชั่น จะมาช่วยเรื่องความผิดพลาดที่เรียกว่า Human Error ได้เป็นอย่างดี


สมโพช เจริญสุข กรรมการบริหาร บริษัท เอ็นแอนด์เอส ออโตเมชั่นแอนด์เซอร์วิส จำกัด

การทำระบบ Automation อย่างดี ช่วยลดการใช้พลังงานลงได้

หลายคนมองว่าการนำระบบ Automation มาใช้จะทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน คุณสมโพช ขยายความเรื่องนี้ว่า การนำระบบ Automation มาใช้ในกระบวนการผลิตนั้น สามารถลดการใช้พลังงานลงได้ โดยเราสามารถออกแบบให้ประหยัดพลังงานได้หลายรูปแบบ อย่างเช่น สายพานการผลิต เมื่อไม่มีการ Run งานสายพานก็หยุดหมุน หรืออย่างโรงงานแป้งมัน เดิมทีจะเริ่มทำงานต้องสตาร์ททั้งระบบทำให้สิ้นเปลืองพลังงานมาก แต่พอเรานำระบบ Automation เข้ามาใช้จะสั่งให้สตาร์ททีละระบบที่ใช้งานก่อน - หลังได้ ทำให้ประหยัดพลังงานในส่วนที่ไม่มีการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ



วางอนาคตของ ‘เอ็นแอนด์เอส ออโตเมชั่นแอนด์เซอร์วิส’ ไว้อย่างไร

สำหรับก้าวต่อไปของ ‘เอ็นแอนด์เอส ออโตเมชั่นแอนด์เซอร์วิส’ นั้น คุณสมโพช มองเห็นโอกาสในการพัฒนาและต่อยอดธุรกิจด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานกว่า 15 ปี จึงเตรียมผลิตอาหารแบรนด์ของตัวเองโดยใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเองของบริษัททั้งระบบ และมีแผนจะนำ AI มาใส่ใน Production ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเริ่มต้นซึ่งเป็นโปรเจกต์ที่เราเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

ฝากถึงผู้ประกอบการ SME ไทยในยุค Disruption

กรรมการบริหาร เอ็นแอนด์เอส ออโตเมชั่นแอนด์เซอร์วิส กล่าวทิ้งท้ายว่า ผู้ประกอบการและ SME ยังไม่รู้ว่าองค์กรของตนเองยังขาดการพัฒนาในด้านใด ซึ่งการทำธุรกิจในยุคนี้ถ้าตามเทรนด์ด้านเทคโนโลยีไม่ทันอาจถูก Disruption ได้ในอนาคตอันใกล้นี้ ดังนั้นสิ่งที่ต้องเร่งปรับเปลี่ยนคือ เรื่อง Mindset ต้องมองเห็นปัญหาและรู้ความต้องการของตนเองอย่างชัดเจนก่อน แล้วเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับธุรกิจเพื่อตอบโจทย์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่สำคัญเทรนด์ในอนาคตการทำธุรกิจต้องใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการทำงานมากขึ้น จึงควรเรียนรู้จากหน่วยงานที่มีการนำเทคโนโลยี Automation System มาใช้ในกระบวนการผลิตแล้วประสบความสำเร็จ เพื่อนำมาปรับใช้ในการพัฒนาธุรกิจของตนเองเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

‘เอ็นแอนด์เอส ออโตเมชั่นแอนด์เซอร์วิส’ เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีศักยภาพมากพอที่จะพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี Automation System ซึ่งนอกจากจะเป็นการยกระดับธุรกิจของบริษัทตนเองแล้ว ยังช่วยให้ผู้ประกอบการและ SME เข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อการผลิตที่ทันสมัยได้ด้วยการลงทุนที่คุ้มค่าที่จะนำพาให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ในอนาคต

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ แห่งแรกของไทย โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ หรือ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว จัดตั้งโดย บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด…
pin
167 | 25/03/2024
3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

ไขเคล็ดลับและแนวคิดที่ผลักดันให้ผู้นำหญิงในโลกธุรกิจขึ้นมายืนแถวหน้า นักธุรกิจหญิงแกร่งที่ทรงพลังต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ จนทำให้พวกเธอสามารถขึ้นมายืนแถวหน้าอย่างภาคภูมิ…
pin
355 | 22/03/2024
พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อธุรกิจ เมื่อหลายประเทศทั่วโลกเริ่มออกกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น…
pin
278 | 20/03/2024
จากคนสู่ระบบอัตโนมัติ 'เอ็นแอนด์เอส ออโตเมชั่น' ทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการ SME ยุค Disruption