‘Big Data’ กับการนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อผู้ประกอบการสร้างโอกาสคว้าใจผู้บริโภคตอบโจทย์ความต้องการตรงจุด
SME Series Mega Trends & Business Transformation ในตอนที่แล้วได้มีการนำเสนอเรื่องราวของ Big Data ในแบบภาพรวมเพื่อให้ผู้ประกอบการและ SME บ้านเรา ได้เข้าใจมากขึ้น เป็นอีกหนึ่งทางเลือกขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในยุคปัจจุบันแล้ว
เอสเอ็มอีซีรีส์ตอนนี้จึงขอนำเสนอเรื่อง Big Data อีกครั้ง ในเชิงเจาะลึกว่าภาคธุรกิจบ้านเราส่วนใหญ่นั้นจะนำดาต้ามาใช้ประโยชน์หลักๆ 3 ด้านด้วยกัน คือ 1. การผลิต 2. การบริหาร 3. Marketing สู่ Case Study ที่น่าเรียนรู้เพื่อให้แต่ละบริษัทได้ศึกษาก่อนนำดาต้าไปปรับใช้สร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับองค์กรของตน
Big Data คือชุดข้อมูลขนาดใหญ่ที่ในทุกธุรกิจมี ซึ่งเป็นข้อมูลจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลบริษัท ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลสินค้า พฤติกรรมของผู้ซื้อ และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไม่สามารถรองรับการเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากจะเป็นชุดข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มากแล้ว ยังเป็นชุดข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการส่งข้อมูลการแบบเรียลไทม์ อาจทำให้ไม่สามารถจับทางของข้อมูลได้ ถึงแม้จะไม่สามารถจับทางของข้อมูลได้ในทันที แต่ก็สามารถหยิบข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการทำประโยชน์ - สร้างโอกาสให้กับภาคธุรกิจได้
ทำอย่างไร? ให้ได้ดาต้า
การเก็บข้อมูลดิบ (Raw Data) โดยต้องรู้ว่าจะเก็บข้อมูลออะไรและข้อมูลดังกล่าวเป็นประเภทใด
ข้อมูลมี 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
1. External Data (ข้อมูลภายนอกของลูกค้า)
เช่น ข้อมูลภาพรวมตลาด,ข้อมูลการเสพสื่อโดยรวมของกลุ่มเป้าหมาย, Market Landscape (ex. จำนวนคนโหลด คนใช้ อัตราการโตของตลาดนั้นๆ)
Internal Data (ข้อมูลภายในของลูกค้า)
เช่น ข้อมูล Demographic ของลูกค้าแต่ละคน, ข้อมูล Transaction, เก็บความถี่ในการซื้อสินค้าแต่ละชิ้น
แล้วจะเก็บข้อมูลทั้ง 2 ประเภทนี้ได้อย่างไร?
แบรนด์เองสามารถเก็บข้อมูลได้ทุกๆ ช่องทาง เช่น เว็บไซต์, หน้าร้าน, โซเชียลมีเดีย โดยใช้เครื่องมือเก็บข้อมูล หรือวิเคราะห์จากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว โดยสำหรับข้อมูล External Data (ข้อมูลภายนอกของลูกค้า) มีหลากหลายวิธี เช่น
โปรแกรม Microsoft Excel
โปรแกรมที่ทุกคนน่าจะคุ้นเคยกันอยู่แล้ว Excel สามารถแสดงผลข้อมูลให้เข้าใจง่ายโดยการ Visualize ออกมาเป็นภาพผ่านรูปแบบตารางหรือกราฟ โดยมันจะช่วยทำให้ตัวเลขที่อยู่รวมกันจำนวนมาก กลายเป็นเรื่องเข้าใจง่ายขึ้น ซึ่งบางทีทำให้เราเห็นมุมมองหรือโอกาสใหม่ ๆ ที่ไม่คาดคิดได้
Social Listening Tools
เครื่องมือ Social Listening เป็นเครื่องมือที่จะดึงข้อมูลจาก Social Network ต่าง ๆ เช่น Facebook, Twitter, Pantip ฯลฯ แล้วสรุปข้อมูลมาให้เราว่ามีการพูดถึงแบรนด์รวมถึงแบรนด์คู่แข่งอย่างไรบ้าง สามารถบอกได้ทั้งในแง่ลบและแง่บวก ซึ่งมันสามารถวัดความสำเร็จของแคมเปญหรือคอนเทนต์ที่ปล่อยออกไปได้อย่างรวดเร็ว ทำให้แบรนด์สามารถปรับเปลี่ยนได้ในทุกสถานการณ์ สำหรับเครื่องมือนี้ มีทั้งแบบฟรีและเสียเงิน เลือกเอาตามฟีเจอร์ที่แบรนด์ต้องการ
Google Search Trend
คนในปัจจุบัน มีอะไรก็จะเสิร์ชหาจากใน Google เพื่อหาข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจอยู่ตลอด โดยเฉพาะสินค้าที่มีมูลค่าสูง (High Value) แบรนด์สามารถเสิร์ชเทรนด์ต่าง ๆ ได้ ด้วยการใช้คำคีย์เวิร์ด เพื่อให้เห็นภาพรวมของตลาดได้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญคือสามารถใช้ได้ฟรี
Market Landscape
สำหรับธุรกิจบนระบบออนไลน์ เช่น Website หรือ Application เราสามารถใช้เครื่องมือประเภท Landscape Overview เช่น Similarweb เพื่อดูได้ว่าการเติบโตของธุรกิจเราเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับคู่แข่ง
2. Internal Data (ข้อมูลภายในของลูกค้า)
สำหรับขั้นเริ่มต้น เราสามารถใช้ Excel ในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลได้ แต่เมื่อมีข้อมูลเยอะมากขึ้น (Big Data) การใช้ Excel ก็จะไม่เพียงพอต่อความต้องการ อีกต่อไป ทำให้เราต้องใช้เครื่องมือระดับสูงขึ้น เช่น ฐานข้อมูล และ BI Tool
เมื่อเราเข้าใจประเภทของข้อมูลหลัก ๆ 2 ประเภท ก็สามารถออกแบบวิธีการเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เครื่องมือต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันจะช่วยทุ่นแรงเราได้มาก หรือหากไม่อยากใช้เครื่องมือสำเร็จรูป ก็สามารถบอกโจทย์ความต้องการกับทีม Data ให้เขาไปเขียนโค้ดเอาได้ ซึ่งจะได้ข้อมูลที่เราต้องการจริง ๆ
สำหรับ Case Study การเก็บดาต้าเพื่อนำมาสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจที่น่าสนใจก็คือ ‘จ้วดคาเฟ่’ Landmark ร้านอาหารสุดชิคผสมกับคาเฟ่ จังหวัดขอนแก่น ได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภค ด้วยการสร้างระบบจองคิวผ่านเว็บไซต์ นอกจากนี้ลูกค้ายังสามารถแอดไลน์ร้านจ้วดคาเฟ่ หรือสแกนคิวอาร์โค้ด เพื่อกดล็อกอินสมาชิกเพื่อรับสิทธิพิเศษหรือโปรโมชัน นอกจากนี้ยังใช้ระบบ POS (Point of Sale System) ซอฟต์แวร์ที่เป็นโปรแกรมขายหน้าร้านเพื่อช่วยให้การทำงานเป็นระบบ - ตรวจสอบได้
“ร้านมีระบบสมัครสมาชิกเป็น VIP เพื่อให้ลูกค้าสามารถยื่นเป็นส่วนลด หรือกดรับรางวัลเมื่อมีโปรโมชัน และยังมีโปรโมชันส่วนลดสำหรับวันเกิดอีกด้วย”
อ่านบทสัมภาษณ์ ‘จ้วดคาเฟ่’ :
สร้าง Landmark ‘จ้วดคาเฟ่’ Success ด้วย Cost Management & Create Shared Kitchen
สร้าง Landmark ‘จ้วดคาเฟ่’ Success ด้วย Cost Management & Create Shared Kitchen
การจัดเก็บฐานข้อมูล
เดิมการจัดเก็บฐานข้อมูลนั้นหลายบริษัทหลายองค์กรอาจเลือกวิธีการเก็บฐานข้อมูลด้วย แฟ้มเอกสาร, ไฟล์ Words, Exel ไปจนกระทั่งการสร้างระบบหรือโปรแกรมเฉพาะองค์กรขึ้นมาเพื่อจัดเก็บฐานข้อมูล เป็นต้น หรือจะให้สะดวกง่ายขึ้นมาอีกหน่อย ในปัจจุบันหลายบริษัทขนาดเล็กก็อาจจะเลือกใช้ Spreadsheet ที่ Google สร้างไว้ให้ใช้ฟรีได้อีกด้วย แน่นอนว่าด้วยวิธีการเก็บในลักษณะแบบเก่า เช่น แฟ้มเอกสารหรือไฟล์งานต่างๆ เกิดสูญเสียก็อาจจะสร้างผิดพลาดเสียหายให้กับธุรกิจของคุณได้
การใช้ฐานข้อมูลสำคัญ ๆ ขององค์กรหรือบริษัทนั้น สิ่งที่คุณในฐานะเจ้าของกิจการหรือฝ่ายบริหารข้อมูลในองค์กรต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งก็คือ “ความปลอดภัยของข้อมูล” การกำหนดมาตราการ ว่าใครหรือส่วนใดบ้างที่สามารถการเข้าถึงข้อมูลได้ รวมถึงความปลอดภัยของการจัดเก็บและจัดการข้อมูล จึงเป็นสิ่งคุณจะต้องกำหนดนโยบายของบริษัทอย่างชัดเจน เพราะการสูญหายข้อมูลสำคัญของธุรกิจไปเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่สำหรับองค์กรของคุณ
แน่นอนว่าเพื่อเป็นการลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับฐานข้อมูล ดังนั้นธุรกิจหรือองค์กรต่าง ๆ ก็ควรที่จะลงทุนกับระบบจัดเก็บฐานข้อมูลที่ดีมีประสิทธิภาพรวมไปถึงต้องคำนึงถึงระบบความปลอดภัยของข้อมูลร่วมด้วย ในปัจจุบันหลากธุรกิจทั่วโลกเลือกใช้ระบบจัดเก็บฐานข้อมูลลูกค้าที่เรียกว่า “ระบบ CRM” แม้จะดูขัดๆ กับชื่อระบบที่มีวัตถุประสงค์คือการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relation Management) แต่เครื่องมือนี้ก็ถูกนำมาใช้ในการเก็บข้อมูลทั้งหมดที่มีความเชื่องโยงสัมพันธ์กับการ ตัดสินใจซื้อของลูกค้าในมิติต่าง ๆ เพื่อเป้าหมายเดียวกันกับระบบจัดการฐานข้อมูล นั่นก็คือ “การนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ของธุรกิจ”
ข้อมูลจาก financesonline.com ที่รวบรวมผลสำรวจของบริษัท CRM Software มากถึง 54 บริษัทในปี 2020 ที่ทำสำรวจกับกลุ่มลูกค้าที่ใช้ ระบบ CRM กับธุรกิจพบว่า “CRM สามารถเพิ่มยอดขายได้ 29% เพิ่มผลผลิต 34% และคาดการณ์ความแม่นยำได้ 42%”
Big Data ที่องค์กรมี ช่วยยกระดับธุรกิจอย่างไร?
ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรม และความต้องการของลูกค้ามากขึ้น
เคยมั้ยที่เราจะเจอว่า ช่วยทำแบบสอบถามว่ารู้สึกดีกับสินค้าแบรนด์ไหนในโฆษณาของยูทูบ หรือก่อนเราจะสมัครแอปพลิเคชันต่าง ๆ ก็มีให้เลือกหมวดหมู่ประเภทที่เราชอบก่อนที่เราจะได้ใช้จริง นั่นแหละคือการเก็บข้อมูลของลูกค้าแบบตรง ๆ หรือถ้าเก็บอ้อม ๆ ธุรกิจจะเข้าไปเช็กข้อมูลในแต่ละแพลตฟอร์มที่ลูกค้ามาใช้บริการกับเรา เช่น ลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้าชิ้นนี้แล้วไปเลือกสินค้าชิ้นไหนต่อ หรือถ้ามีโปรโมชันมาลงแบบไหน เวลาใด จะเกิด Traffic กับร้านค้ามากที่สุด ฯลฯ
จากข้อมูลเหล่านี้ ที่เราได้จากทั้งแพลตฟอร์มที่ใช้บริการ หรือ AI รวบรวมข้อมูลมาให้จะทำให้เราเข้าใจในตัวลูกค้า (Customer Insight) และรู้จักลูกค้าในมุมใหม่ที่เราอาจไม่เคยรู้ โดยข้อมูลเหล่านี้เราสามารถใช้โฆษณา ประชาสัมพันธ์และนำเสนอสินค้าได้ตรงใจมากขึ้น
สร้างธุรกิจใหม่ที่ให้ตรง Insight ของลูกค้า
ปัญหาของลูกค้า (Pain point) นั้นมีขึ้นมาใหม่ ๆ อยู่เสมอ แต่จะอยู่ที่ว่าธุรกิจจะหา Pain Point ของลูกค้าเจอหรือเปล่า? แล้วสามารถคิดหาสินค้าหรือบริการที่ตรงจุดและตอบโจทย์ของลูกค้าได้มากขนาดไหน
ยกตัวอย่างธุรกิจที่เล่นกับ Pain Point ของคน เช่น ธุรกิจ Food Delivery ที่เข้ามาแก้ปัญหาคนอยากกินร้านอาหารไกลบ้าน หรือขี้เกียจออกไปซื้อของเอง แถมพอมีการระบาดของเชื้อโควิด 19 อีกก็ยิ่งทำให้คนออกมาเดินเล่นไปไหนมาไหน หรือซื้อของนักกินที่ร้านไม่ได้ ธุรกิจนี้จึงมีความต้องการสูงเพราะแก้ปัญหาและตอบโจทย์ลูกค้านั่นเอง
วางแผนกลยุทธ์ พัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ เพื่อก้าวนำธุรกิจคู่แข่ง
ถึงแม้บิ๊กดาต้านั้นจะทำให้เรามีข้อมูลมากมายมหาศาลอยู่ในมือ ซึ่งข้อมูลในแต่ละอย่างนั้นมีสามารถนำมาเชื่อมโยง เพื่อที่เราเข้าใจในตัวลูกค้า และวางกลยุทธ์ให้เหนือกว่าคู่แข่งได้นั่นเอง โดยข้อมูลที่เรามีนั้นถ้าเรามีคนวิเคราะห์ที่เชี่ยวชาญจะสามารถนำไปใช้ได้อย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพที่สุด
รายงานผลการปฏิบัติงานของกระบวนการธุรกิจ และเฝ้าติดตามกิจกรรมธุรกิจ
“รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” ถือเป็นคติจากสามก๊กที่ทุกคนต้องได้ยิน ซึ่งการใช้บิ๊กดาต้านั้นจะทำให้เราสามารถติดตามกิจกรรม และรู้ข้อมูลบางอย่างจากคู่แข่งของเราได้ ว่าคู่แข่งใช้อะไรอยู่ มีศักยภาพขนาดไหน เพื่อช่วยในการประเมิน และการวางแผนธุรกิจ รวมถึงกลยุทธ์ของบริษัทเรานั่นเอง
หาจุดสมดุล เพื่อลดต้นทุนในธุรกิจ
การหาจุดที่เหมาะสมถือเป็นศาสตร์ที่มีมานาน ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามีการวิจัยและพัฒนาสินค้าบริการใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพื่อให้ความ “พอดี หรือจุดสมดุล” เพื่อช่วยในการประหยัดแรง - ต้นทุน รวมถึงเวลาด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีธุรกิจโรงงานอาหาร แล้วทำผลิตภัณฑ์ถ้าเราใช้วัตถุดิบมากเกินความต้องการก็เป็นการสิ้นเปลืองงบอีก หรือถ้ามีน้อยไปก็ขาดไม่สามารถผลิตสินค้าได้ หรือธุรกิจที่ส่งออกสินค้า
ถ้าเราซื้อสินค้าเกินความต้องการก็อาจเกิดการขาดทุน เนื่องจากสินค้าเกิดการเสื่อมสภาพ ชำรุด และเน่าเสียได้ ถ้าสินค้ามีน้อยกว่าความต้องการ ก็ไม่เพียงพอต่อลูกค้า และเราอาจเสียโอกาสช่วงทำกำไร รวมถึงทำให้ลูกค้าอาจมองเราในแง่ไม่ดีอีกด้วย เช่น มองว่าธุรกิจไม่มีศักยภาพที่จะ Suit ความต้องการ
รู้มาก..ก็สร้างรายได้ได้มาก
นอกจากการนำข้อมูลที่เรามีมาใช้ในการวางแผน โครงสร้างกลยุทธ์ของธุรกิจเราแล้ว เรายังสามารถนำข้อมูลที่ได้มาเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ขายข้อมูลให้กับบริษัทต่าง ๆ อีกด้วย หลายคนคงเห็นบริษัทที่รับบริการวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากการเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนการวิเคราะห์นั้นถือเป็นการใช้ทั้งต้นทุน และเวลาที่มาก ถ้าทำเองการใช้บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะจึงถือเป็นหนึ่งในทางเลือกที่หลายธุรกิจนิยมใช้
ในยุคนี้ดาต้ามีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งเราไม่ต้องไปหาที่ไหนไกล เพราะดาต้ามีอยู่ทุกหนแห่ง แต่อยู่ที่ว่าธุรกิจจะสามารถหยิบมาใช้เป็นกลยุทธ์ หรือมองเห็นประเด็นที่ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้มากน้อยแค่ไหน
วิเคราะห์ Big Data อย่างไร? ให้ได้ประสิทธิภาพ
Big Data & Data Analytics คือการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ โดยข้อมูลที่นำมาใช้มีทั้งข้อมูลในอดีต ปัจจุบัน รวมไปถึงการพยากรณ์ข้อมูลในอนาคต เพื่อใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ต่าง ๆ ข้อมูลเหล่านี้ถือว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญของธุรกิจ เพราะสามารถใช้สร้างศักยภาพให้กับธุรกิจได้
วิธีการใช้ Data Analytics
การใช้ Data Analytics ต้องมีข้อมูลที่ถูกจัดระเบียบมาอย่างดี มีความถูกต้องสูง และนำไปใช้ได้ หลาย ๆ ธุรกิจมักจะใช้วิธีเข้าถึงข้อมูล และผสมผสานข้อมูลที่มีที่มาแตกต่างกัน โดยปัจจุบันมีระบบอัตโนมัติที่หลากหลายที่สามารถใช้เก็บข้อมูลให้เป็นระบบได้ และสามารถนำมาวิเคราะห์เป็นข้อมูลภาพรวมได้ อีกทั้งยังใช้งานง่าย และนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว โดยขั้นตอนอย่างง่ายในการนำ Data Analytics ไปใช้ได้ ดังนี้
1. ทำความเข้าใจปัญหาของธุรกิจ
2. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของธุรกิจ
3. จัดระเบียบข้อมูล และตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง
4. วิเคราะห์ข้อมูล และสร้างข้อมูลเชิงลึกในรูปแบบต่าง ๆ
5. นำข้อมูลที่ได้ไปปรับใช้ และทดลองใช้
6. ติดตามผลลัพธ์และนำมาปรับปรุง
เข้าใจวิธีการใช้ Data Analytics สู่การนำเครื่องมือที่เหมาะสมมาสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจ Microsoft Power BI
Microsoft Power BI
เป็นเครื่องมือที่นิยมในการนำมาใช้สำหรับ Data Analytics เพราะเข้าถึงง่ายและใช้งานได้ง่าย ความแตกต่างที่สำคัญสำหรับแพลตฟอร์มคือการทำงานร่วมกับ Azure Data Lake Storage Gen2
ซึ่งรองรับ HDFS (Hadoop Distributed File System) สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ขั้นสูง
Tableau
เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยให้ Big Data ขององค์กรสามารถเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูลใน SQL Database ขององค์กรได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย พร้อมแสดงผลได้ในตัวโดยไม่ต้องมีความรู้ด้าน IT หรือ Data Scientists
Zoho Analytics
Zoho Analytics เป็นตัวเลือกอีกหนึ่งตัวในการทำ Data Analytics ที่เหมาะกับคนที่ไม่มีถนัดหรือไม่มีเจ้าหน้าที่ทางด้านไอที หรือตำแหน่ง Data Scientists โดยเฉพาะอย่างยิ่งซอฟต์แวร์ข้อมูล Zoho มี Interface การลากและวาง ใช้งานง่าย
Cloudera
เป็นการเชื่อมโยงกับซอฟต์แวร์ Big Data อย่าง Hadoop เทคโนโลยีหลักในการจัดการข้อมูลของระบบ Software โดย Database นี้จะมีโครงสร้างเป็นแบบ Structured Data ซึ่งผู้ใช้งานต้องทำการกำหนดข้อจำกัดต่าง ๆ ก่อนล่วงหน้า เช่น ขนาดของแต่ละ Field, ประเภทของข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บในแต่ละField ฯลฯ
Hitachi Vantara Pentaho
เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับองค์กรที่มี Big Data เพื่อทำ Data Analytics แพลตฟอร์มในการวิเคราะห์ แพลตฟอร์มของ Pentaho มีหลายรุ่น รวมถึงการวิเคราะห์เชิงพยากรณ์เพื่อช่วยให้องค์กรพบผลลัพธ์ที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
3 ประโยชน์ Data Analytics
- นำ Big Data & Data Analytics วิเคราะห์ข้อมูลปัจจุบัน เพื่อรู้สถานการณ์ปัจจุบัน เช่น อ่านข้อมูลเพื่อรู้จักลูกค้า
- นำ Big Data & Data Analytics วิเคราะห์ข้อมูลอดีตถึงปัจจุบันเพื่อทำนายอนาคต เช่น นำข้อมูลออกแบบ และพัฒนาสินค้าที่ลูกค้าน่าจะต้องการ
- นำ Big Data & Data Analytics วิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน เพื่อทำนายอนาคต และสามารถวางกลยุทธ์ให้ประสบความสำเร็จ เช่น ออกแบบวิธีการนำเสนอสินค้า ถูกใจ ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลา
Case Study ผู้ประกอบการและ SME ไทย นำ ‘Big Data’ มาใช้ประโยชน์ 3 ด้าน
1. ด้านการผลิต
‘ภัตตาคาร เล่งหงษ์ นครสวรรค์’ เพื่อให้ก้าวทันร้านอาหารยุคใหม่ จึงได้นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภค ด้วยการใช้โปรแกรมบริหารจัดการ ที่ทำให้รู้ว่าขายอะไรไปบ้าง ขายได้เท่าไหร่ เมนูไหนขายดี ก็จะให้มีสต็อกวัตถุดิบสินค้าที่ใช้ประกอบอาหารเมนูนั้นมากขึ้น
นอกจากนี้ยังใช้ระบบ POS (Point of Sale System) ซอฟต์แวร์ที่เป็นโปรแกรมขายหน้าร้านเพื่อช่วยให้การทำงานเป็นระบบที่ตรวจสอบได้
2. ด้านการบริหาร
บริษัท พรีเมียร์ แทงค์ คอร์ปอเรชั่น (มหาชน) หรือ PTC ได้มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาจัดเก็บข้อมูล บริหารคลังน้ำมัน รวมถึงการวิเคราะห์ต้นทุนต่างๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ทราบว่าบริษัทควรจะพัฒนาหรือปรับปรุงส่วนใดเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจได้อย่างตรงจุด
3. ด้าน Marketing
บริษัท มังกี้เอเวอรี่เดย์ จํากัด เจ้าของแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์รูปแบบใหม่ ‘MonkeyEveryday’ ได้มีการนำดาต้ามาวิเคราะห์ในด้านการตลาด เพื่อติดตามประเมินผลอย่างใกล้ชิด โดยการมอนิเตอร์แบบ Day by Day สำหรับประเมินความสุ่มเสี่ยง - ผลลัพธ์ต่างๆ เพื่อออกกลยุทธ์ใหม่แก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที
แหล่งอ้างอิง :
https://www.digitaldoughnut.com/articles/2020/january-2020/how-to-use-big-data-technology-effectively
https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/994911
https://www.dip.go.th/en/category/2020-05-27-17-17-22/2020-06-01-20-33-51
https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_09May2019.aspx
https://www.everydaymarketing.co/knowledge/data-science-for-marketing-and-business/
https://forbesthailand.com/news/other/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94-5-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C-big-data-%E0%B8%9B%E0%B8%B5-65.html
https://www.marketingoops.com/exclusive/tools-for-marketer-2022/
https://www.datamation.com/big-data/big-data-case-studies
https://data-flair.training/blogs/big-data-case-studies/
https://techvidvan.com/tutorials/top-10-big-data-case-studies/